แผลไหม้

แผลไหม้
แผลไหม้ระดับสองที่มือ
สาขาวิชาเวชบำบัดวิกฤติ ศัลยกรรมพลาสติก
อาการระดับ 1 - แดงโดยไม่มีตุ่มพอง

ระดับ 2 - มีตุ่มพองและเจ็บ

ระดับ 3 - แผลแข็งโดยไม่เจ็บ
ภาวะแทรกซ้อนติดเชื้อ
ระยะดำเนินโรคหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์
ประเภทระดับ 1-2-3 (Superficial, partial-thickness, full-thickness)
สาเหตุความร้อน ความเย็น ไฟฟ้า สารเคมี การเสียดสี การแผ่รังสี
ปัจจัยเสี่ยงไฟหุงต้มแบบเปิดโล่ง เตาหุงต้มที่ไม่ปลอดภัย การสูบบุหรี่ การติดเหล้า สถานที่ทำงานซึ่งไม่ปลอดภัย
การรักษาขี้นอยู่กับความรุนแรง
ยายาระงับปวด ให้น้ำเกลือ วัคซีนบาดทะยัก
ความชุก67 ล้าน (2015)
การเสียชีวิต176,000 (2015)

แผลไหม้ (อังกฤษ: burn) เป็นการบาดเจ็บที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ มีเหตุจากความร้อน ความเย็น การเสียดสี หรือการแผ่รังสี (เช่น ไหม้แดด) โดยมักเกิดจากของเหลวร้อน (คือถูกลวก) ของแข็งร้อน หรือไฟ แม้อัตราการเกิดจะคล้าย ๆ กันในหญิงชาย แต่เหตุมักจะต่างกัน สำหรับหญิงในภูมิประเทศบางแห่ง ความเสี่ยงมาจากการใช้ไฟหุงต้มแบบเปิดโล่งหรือเตาหุงต้มที่ไม่ปลอดภัย สำหรับชาย ความเสี่ยงมาจากที่ทำงาน ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ รวมทั้งการติดเหล้าและการสูบบุหรี่ ยังอาจเกิดเพราะทำร้ายตัวเองหรือถูกคนอื่นทำร้าย

แผลไหม้ที่มีผลต่อผิวหนังชั้นบนสุดจัดอยู่ในระดับ 1 (ไหม้ตื้น, superficial) มีสีแดงโดยไม่มีตุ่มพองและเจ็บราว 3 วัน เมื่อไหม้ลึกถึงหนังข้างใต้ ก็จัดเป็นระดับ 2 (partial-thickness) มักมีตุ่มพองและเจ็บมาก อาจใช้เวลาถึง 8 สัปดาห์กว่าจะหายและอาจมีแผลเป็น แผลไหม้ระดับ 3 (full-thickness) จะไหม้ตลอดหนังทุกชั้น มักไม่เจ็บและแผลจะแข็ง ปกติจะไม่หายเอง แผลไหม้ระดับ 4 ไหม้เนื้อเยื่อที่ลึกยิ่งขึ้น เช่น กล้ามเนื้อ เอ็น หรือกระดูก แผลมักดำและมักเป็นเหตุให้เสียส่วนที่ไหม้นั้น 

แผลไหม้ปกติป้องกันได้ การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรง การไหม้ตื้น ๆ อาจรักษาด้วยแค่ยาระงับปวดธรรมดา ๆ เทียบกับการไหม้มากซึ่งอาจต้องรักษาเป็นเวลานานในศูนย์รักษาแผลไหม้ การแช่น้ำเย็นอาจช่วยลดความเจ็บและความเสียหาย แต่ในบางกรณี การแช่นาน ๆ อาจทำให้ตัวเย็นเกิน แผลไหม้ระดับ 2 อาจต้องทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ แล้วทายาพันแผล วิธีการรักษาตุ่มพองยังไม่แน่ชัด อาจสมควรทิ้งไว้เฉย ๆ ถ้าเล็ก หรือระบายน้ำออกถ้าใหญ่ แผลไหม้ระดับ 3 อาจต้องผ่าตัด เช่น การปลูกถ่ายหนัง (skin grafting) แผลไหม้มาก ๆ มักต้องให้น้ำเกลือจำนวนมาก เพราะหลอดเลือดฝอยรั่วและเพราะบวมน้ำ ภาวะแทรกซ้อนที่สามัญสุดคือการติดเชื้อ ควรให้วัคซีนบาดทะยักถ้าไม่มีภูมิ

ในปี 2015 ไฟและความร้อนทำให้คนบาดเจ็บ 67 ล้านครั้ง ทำให้เข้า ร.พ. 2.9 ล้านครั้งและเสียชีวิต 176,000 ราย ผู้เสียชีวิตโดยมากอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในเอเชียอาคเนย์ แผลไหม้ขนาดใหญ่อาจทำให้เสียชีวิต แต่การรักษาสมัยใหม่นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 ก็ทำให้ได้ผลดีขึ้น โดยเฉพาะในเด็กและคนหนุ่มสาว ในสหรัฐ คนที่รับเข้าศูนย์แผลไหม้เฉพาะทางประมาณร้อยละ 96 รอดชีวิต ผลระยะยาวขึ้นอยู่กับขนาดแผลและอายุคนไข้

อาการ

อาการของแผลไหม้ขึ้นอยู่กับความลึก แผลตื้น ๆ ทำให้เจ็บเป็นเวลา 2-3 วันแล้วหนังก็จะลอกต่อมา แผลที่รุนแรงกว่านั้นอาจทำให้เจ็บหรือตึง แผลระดับ 3 อาจทำให้ไม่รู้สึกการแตะเบา ๆ หรือการถูกเจาะ แผลตื้นมักจะแดง ที่หนักขึ้นอาจเป็นสีชมพู ขาว หรือดำ แผลใกล้ ๆ ปากหรือขนไหม้ในจมูกอาจชี้ว่า มีแผลไหม้ในทางลมหายใจ แต่ก็ไม่แน่นอน อาการน่าเป็นห่วงรวมทั้งหายใจลำบาก เสียงแหบ หายใจเข้ามีเสียงฮื้ด (stridor, wheezing) แผลมักคันเมื่อกำลังหาย โดยเกิดในผู้ใหญ่ร้อยละ 90 และเกือบทั้งหมดในเด็ก ความชาอาจคงยืนเป็นเวลานานถ้าเป็นแผลไหม้เนื่องกับไฟฟ้า แผลไหม้อาจก่อความทุกข์ทางใจ

ประเภท ชั้นที่เกี่ยวข้อง การปรากฏ ผิว ความรู้สึก เวลาหาย พยากรณ์โรค ตัวอย่าง
ระดับ 1
(ตื้น ๆ)
หนังกำพร้า ผิวแดงไร้ตุ่มพอง แห้ง เจ็บปวด 5-10 วัน หายได้ดี การไหม้แดดบ่อย ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งผิวหนังภายหลังในชีวิต ผิวไหม้แดดจัดเป็นแผลไหม้ระดับที่ 1
ระดับ 2
แบบตื้น
ไหม้ไปถึงหนังแท้ที่ผิว ๆ (papillary) แดงโดยมีตุ่มพองใส ซีดถ้ากด ชื้น/เปียก เจ็บมาก 2-3 สัปดาห์ อักเสบรอบ ๆ (เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ) แต่ปกติไม่กลายเป็นแผลเป็น นิ้วโป้งมีแผลไหม้ระดับ 2
ระดับ 2
แบบลึก
ไหม้ไปถึงหนังแท้ส่วนลึก (reticular) เหลืองหรือขาว ไม่ค่อยซีด อาจเป็นตุ่มพอง ค่อนข้างแห้ง ตึงและไม่สบาย 3-8 สัปดาห์ เป็นแผลเป็น ผิวตึง (อาจต้องตัดออกหรือปลูกถ่ายผิวหนัง) แผลไหม้ระดับ 2 จากน้ำเดือด
ระดับ 3 ไหม้ตลอดหนังแท้ แข็ง มีสีขาว/น้ำตาล ไม่ซีด เหมือนหนังสัตว์ ไม่เจ็บ นาน (เป็นเดือน ๆ) ไม่หายสนิท แผลเป็น ผิวตึง อาจต้องตัดออก (แนะนำให้ตัดออกตั้งแต่เนื่อง ๆ) แผลไหม้ระดับ 3 ในวันที่ 8 เนื่องกับท่อไอเสียจักรยานยนต์
ระดับ 4 ไหม้ตลอดหนัง เข้าไปถึงไขมัน กล้ามเนื้อ และกระดูกข้างใต้ หนังตายล่อนเป็นสีดำ แห้ง ไม่เจ็บ ต้องตัดออก ตัดอวัยวะออก พิการอย่างสำคัญ และในบางกรณี ถึงตาย แผลไหม้ระดับ 4
  1. Superficial (first-degree)
  2. Superficial partial thickness (second-degree)
  3. Deep partial thickness (second-degree)
  4. Full thickness (third-degree)
  5. Fourth-degree

เหตุ

แผลไหม้มีเหตุจากสิ่งภายนอกต่าง ๆ รวมทั้งความร้อน สารเคมี ไฟฟ้า และการแผ่รังสี ในสหรัฐ เหตุสามัญที่สุดคือ ไฟ (ร้อยละ 44), ถูกลวก (ร้อยละ 33), วัตถุร้อน (ร้อยละ 9), ไฟฟ้า (ร้อยละ 4) และสารเคมี (ร้อยละ 3) โดยมากเกิดที่บ้าน (ร้อยละ 60) หรือที่ทำงาน (ร้อยละ 9) โดยมากเป็นอุบัติเหตุ มีร้อยละ 2 ถูกทำร้าย และ ร้อยละ 1-2 มาจากพยายามฆ่าตัวตาย เหตุเหล่านี้อาจก่อแผลไหม้ในทางเดินลมหายใจหรือปอด ซึ่งเกิดราว ร้อยละ 6 คนจนเกิดแผลไหม้มากกว่า การสูบบุหรี่และการติดเหล้าเป็นปัจจัยเสี่ยง แผลไหม้เนื่องกับไฟสามัญกว่าในเขตที่หนาวกว่า ปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะของประเทศกำลังพัฒนารวมการหุงต้มด้วยไฟที่เปิดโล่งหรือด้วยไฟก่อที่พื้น ปัญหาพัฒนาการในเด็ก และโรคเรื้อรังในผู้ใหญ่

เหตุความร้อน

See or edit source data.
อัตราตายเพราะไฟระหว่างปี 1990-2017

ในสหรัฐ ไฟและน้ำร้อนเป็นเหตุสามัญสุด สำหรับไฟไหม้ในบ้านที่ทำให้เสียชีวิต การสูบบุหรี่เป็นเหตุร้อยละ 25 และอุปกรณ์ทำความร้อนร้อยละ 22 เกือบครึ่งมีเหตุจากการพยายามดับไฟ การถูกลวกมีเหตุจากน้ำร้อนหรือแก๊สร้อน สามัญที่สุดเนื่องกับเครื่องดื่มร้อน, น้ำร้อนจากก๊อกน้ำหรือฝักบัวอาบน้ำในห้องน้ำ, น้ำมันประกอบอาหาร หรือจากไอน้ำ การถูกลวกสามัญที่สุดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ โดยในสหรัฐและออสเตรเลีย เป็นคนไข้เกินกว่า 2/3 การถูกวัสดุร้อนเป็นเหตุแผลไหม้ของเด็กร้อยละ 20-30 ทั่วไปแล้ว การถูกลวกจะก่อแผลไหม้ระดับ 1 หรือ 2 แต่ก็อาจก่อระดับ 3 ด้วยเพราะติดแช่อยู่นาน ดอกไม้ไฟเป็นเหตุสามัญในช่วงเทศกาลวันหยุดในประเทศหลายประเทศ โดยเฉพาะสำหรับเด็กชายวัยรุ่น

เหตุสารเคมี

สารเคมีเป็นเหตุให้เกิดแผลไหม้ร้อยละ 2-11 แต่เป็นเหตุให้ตายเพราะแผลไหม้ถึงร้อยละ 30 มีสาร 25,000 อย่างที่อาจเป็นเหตุ โดยมากเป็นด่าง (ร้อยละ 55) หรือกรด (ร้อยละ 26) ที่มีฤทธิ์แรง การตายมักเกิดจากการกิน สารสามัญรวมทั้งกรดซัลฟิวริกในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ โซเดียมไฮโปคลอไรต์ในสารฟอกขาวที่พบในน้ำยาซักผ้าขาว และไฮโดรคาร์บอนที่เพิ่มแฮโลเจนดังที่พบในน้ำยาลอกสีเป็นต้น กรดไฮโดรฟลูออริกอาจก่อแผลลึกที่ไม่มีอาการจนกระทั่งหลังช่วงระยะหนึ่ง กรดฟอร์มิกอาจทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงจำนวนมากแตก

เหตุไฟฟ้า

การบาดเจ็บเหตุไฟฟ้าอาจจัดหมู่เป็นแบบไฟฟ้าแรงสูง (>= 1,000 โวลต์) ไฟฟ้าแรงต่ำ (< 1,000 โวลต์) หรือแบบไฟวาบที่เกิดจากอาร์กไฟฟ้า เหตุหลักต่อเด็กเกิดจากสายไฟ (ร้อยละ 60) ตามด้วยปลั๊กไฟ (ร้อยละ 14) ฟ้าผ่าก็อาจเป็นเหตุได้ด้วย ปัจจัยเสี่ยงถูกฟ้าผ่ารวมทั้งการเล่นกีฬากลางแจ้งหรือทำงานกลางแจ้ง อัตราตายเหตุถูกฟ้าฝ่าอยู่ราว ร้อยละ 10 แม้การบาดเจ็บหลักเนื่องกับไฟฟ้าอาจเป็นแผลไหม้ แต่กระดูกก็อาจหักหรือข้ออาจหลุดเนื่องจากถูกกระแทกหรือเพราะการหดเกร็งกล้ามเนื้อ สำหรับไฟฟ้าแรงสูง ความเสียหายโดยมากอาจอยู่ข้างใน ดังนั้น จึงไม่สามารถรู้ว่าบาดเจ็บแค่ไหนเพียงตรวจดูแค่ผิวหนัง การถูกไฟช็อตไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าแรงสูงหรือแรงต่ำก็ล้วนอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจหยุดเต้น

เหตุการแผ่รังสี

แผลไหม้เหตุการแผ่รังสีอาจมาจากการถูกรังสีอัลตราไวโอเลตนาน ๆ เช่น จากแสงอาทิตย์ จากการเชื่อมอาร์ก เป็นต้น หรือจากการแผ่รังสีแตกไอออน (ionizing radiation) เช่น จากการฉายรังสี จากเอกซเรย์ หรือจากฝุ่นกัมมันตรังสี การตากแดดเป็นเหตุสามัญสุดสำหรับแผลไหม้เหตุแผ่รังสี และสำหรับแผลไหม้ระดับ 1 ด้วย โดยเกิดขึ้นง่ายแค่ไหนขึ้นอยู่กับลักษณะผิว ผลของการแผ่รังสีแตกไอออนต่อผิวจะขึ้นอยู่กับว่าถูกนานแค่ไหน ผมอาจร่วงหลังจากได้ขนาด 3 เกรย์ ผิวแดงหลังจาก 10 เกรย์ หนังลอกหลังจาก 20 เกรย์ เนื้อตายหลังจาก 30 เกรย์ ถ้าผิวแดง อาจจะไม่ปรากฏจนสักระยะหนึ่ง ส่วนการรักษานั้นเหมือนกับแผลไหม้อื่น  แผลไหม้เหตุไมโครเวฟเกิดจากความร้อนที่เนื่องกับคลื่นไมโครเวฟ แม้การถูกเพียงแค่ 2 วินาทีก็อาจก่อแผล แต่นี่ไม่สามัญ

เหตุที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ

ในบุคคลที่เข้า ร.พ. เนื่องกับแผลไหม้เหตุไฟหรือถูกลวก ร้อยละ 3-10 เป็นเพราะถูกทำร้าย รวมทั้งทารุณกรรมต่อเด็ก ทะเลาะกันส่วนตัว ถูกคู่ครองทำร้าย คนแก่ถูกทำร้าย และทะเลาะกันเรื่องผลประโยชน์ การแช่ติดอยู่กับของร้อนหรือในน้ำร้อนอาจชี้ว่าเป็นทารุณกรรมต่อเด็ก ซึ่งอาจเกิดเมื่ออวัยวะปลาย ๆ หรือบางครั้งก้น ถูกกดให้แช่น้ำร้อน ปกติมีขอบบนที่ชัดเจนและมักจะเสมอกัน (symmetrical) โดยส่วนพับของผิวหนังอาจทำให้ส่วนนั้นไม่ไหม้ (เรียกในภาษาอังกฤษว่า "sock burns", "glove burns" หรือ "zebra stripes")

แผลไหม้จงใจด้วยไฟบุหรี่มักพบที่หน้า หลังมือ หรือหลังเท้า ตัวชี้ทารุณกรรมอื่น ๆ รวมทั้งแผลไหม้เป็นวง (circumferential burns) การไร้แผลที่เป็นรอยน้ำกระเซ็น แผลไหม้โดยลึกเท่า ๆ กัน และมีลักษณะอาการถูกละเลยและทารุณกรรมอื่น  การเผาเจ้าสาวซึ่งเป็นทารุณกรรมในครอบครัวอย่างหนึ่งเกิดในวัฒนธรรมบางอย่าง เช่นอินเดียที่เผาผู้หญิงเพราะสามีหรือครอบครัวสามีคิดว่าได้สินสอดไม่พอ ในปากีสถาน กรดเป็นเหตุในอัตราร้อยละ 13 เมื่อจงใจทำร้ายผู้อื่นและมักเป็นทารุณกรรมในครอบครัว การเผาตนเองก็ใช้เป็นวิธีการประท้วงอย่างหนึ่งในที่ต่าง ๆ ของโลก

พยาธิสรีรวิทยา

แผลไหม้ระดับ 1-2-3 (จากบนลงล่าง)

เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 44 องศาเซลเซียส โปรตีนในเซลล์จะเริ่มเสียรูปแล้วสลาย มีผลให้เซลล์และเนื้อเยื่อเสียหาย การทำงานผิดปกติของผิวหนังเป็นผลของแผลไหม้ต่อสุขภาพโดยตรง รวมทั้งการเสียความรู้สึก การป้องกันไม่ให้เสียน้ำโดยระเหย และการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ปัญหาที่เยื่อหุ้มเซลล์ทำให้เซลล์เสียโพแทสเซียมออกนอกเซลล์แล้วได้น้ำกับโซเดียมเพิ่ม

สำหรับแผลใหญ่ (คือมากกว่าร้อยละ 30 ของผิวร่างกายทั้งหมด) จะมีการอักเสบอย่างสำคัญ ทำให้น้ำซึมออกมาจากหลอดเลือดฝอยยิ่งขึ้น แล้วทำให้บวมน้ำต่อมา ทำให้ปริมาตรของเลือดโดยรวมลดลง โดยเลือดที่เหลือก็จะเสียน้ำเลือด (พลาสมา) อย่างสำคัญ และทำให้เลือดข้นขึ้น เลือดที่ไหลได้แย่ลงไปยังอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไตและทางเดินอาหาร อาจทำให้ไตวายและเกิดแผลเปื่อยในกระเพาะอาหาร (gastric ulcer)

แคเทโคลามีน (catecholamine) และคอร์ติซอล (cortisol) ที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ระดับเมแทบอลิซึมสูงผิดปกติเป็นปี  ซึ่งทำให้หัวใจปั๊มเลือดมากขึ้น หัวใจเต้นเร็ว และภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

การวินิจฉัย

แผลไหม้อาจจัดหมวดตามความลึก เหตุให้เกิดแผล ขนาด และการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกัน หมวดที่ใช้มากที่สุดเป็นไปตามความลึก ซึ่งระบุด้วยการตรวจแผล แต่ก็อาจตัดเนื้อออกตรวจ การระบุความลึกให้แม่นยำโดยตรวจเพียงครั้งเดียวอาจยาก จึงอาจต้องตรวจซ้ำหลาย ๆ วัน สำหรับคนที่ปวดหรือเวียนหัวและมีแผลไหม้จากไฟ ควรพิจารณาภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษด้วย ไซยาไนด์เป็นพิษก็ควรพิจารณาด้วยเหมือนกัน

ตามขนาด

ในบรรดาวิธีต่าง ๆ ระดับแผลไหม้สามารถกำหนดโดยขนาดผิวหนังที่ไหม้ ภาพแสดงอัตราส่วนผิวหนังของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เพื่อช่วยระบุขนาดแผลไหม้ (จากบนลงล่าง) ศีรษะและคอ, แขน, ลำตัว, อวัยวะเพศ และขา

ขนาดจะวัดโดยสัดส่วนแผลไหม้เทียบกับพื้นที่ผิวร่างกายทั้งหมด (total body surface area ตัวย่อ TBSA) แผลระดับ 1 ที่ปรากฏเป็นสีแดงไร้ตุ่มพองไม่รวมอยู่ในการประเมินเช่นนี้ แผลไหม้โดยมาก (ร้อยละ 70) มีผลต่อพื้นที่ผิวร่างกายทั้งหมดน้อยกว่าร้อยละ 10 มีวิธีระบุสัดส่วนแผลไหม้หลายอย่างรวมทั้ง Wallace rule of nines (กฎเลขเก้าของวอลเลซ), Lund and Browder chart และวิธีประเมินขึ้นกับขนาดมือ กฎเลขเก้าจำได้ง่ายแต่แม่นสำหรับคนอายุมากกว่า 16 ปีเท่านั้น วิธี Lund and Browder chart จะแม่นกว่า เพราะใช้อัตราส่วนร่างกายที่ต่าง ๆ กันสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ขนาดมือของบุคคล (รวมฝ่ามือและนิ้ว) จะราว ร้อยละ 1 ของพื้นที่ผิวร่างกายทั้งหมด

กฎเลขเก้า (เข้ากับรูปที่แสดงได้) ระบุส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นร้อยละเก้า ๆ รวมทั้ง แขนซ้าย (9%) แขนขวา (9%) ศีรษะกับคอ (9%) หน้าอก (9%) ท้อง (9%) หลังทั้งหมด (18%) ขาซ้าย (18%) ขาขวา (18%) และอวัยวะเพศ/บริเวณขาหนีบ (1%)

ความรุนแรง

ระดับความรุนแรงตาม American Burn Association
พื้นที่ผิวร่างกายทั้งหมด (total body surface area ตัวย่อ TBSA)
น้อย ปานกลาง มาก
ผู้ใหญ่ <10% TBSA ผู้ใหญ่ 10-20% TBSA ผู้ใหญ่ >20% TBSA
เด็กหรือคนชรา <5% TBSA เด็กหรือคนชรา 5-10% TBSA เด็กหรือคนชรา >10% TBSA
ไหม้ลึก <2% ไหม้ลึก 2-5% ไหม้ลึก >5%
บาดเจ็บเหตุไฟฟ้าแรงสูง แผลไหม้เหตุไฟฟ้าแรงสูง
อาจบาดเจ็บเพราะสูดเข้าไป รู้ว่าบาดเจ็บเพราะสูดเข้าไป
แผลไหม้เป็นวง แผลไหม้อย่างสำคัญที่หน้า ข้อต่อ มือ หรือเท้า
ปัญหาสุขภาพอย่างอื่น การบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกันอื่น ๆ
  1. full thickness burn
  2. circumferential burn

เพื่อระบุการต้องส่งไปศูนย์รักษาแผลไหม้ สมาคมแผลไหม้อเมริกัน (American Burn Association) ได้สร้างระบบการจัดหมวดหมู่ขึ้นอย่างหนึ่ง ในระบบนี้ แผลไหม้อาจเป็นแบบมาก (major) ปานกลาง (moderate) หรือน้อย (minor) ประเมินโดยอาศัยปัจจัยหลายอ่าง รวมทั้งพื้นที่ผิวร่างกายทั้งหมดที่ไหม้ อวัยวะต่าง ๆ ที่ไหม้ อายุ และการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกัน แบบน้อยปกติรักษาได้ที่บ้าน แบบปานกลางมักรักษาที่ รพ. และแบบมากรักษาที่ศูนย์รักษาแผลไหม้

การป้องกัน

ตามประวัติแล้ว แผลไหม้ราว ๆ ครึ่งเชื่อว่าป้องกันได้ โปรแกรมป้องกันการถูกไหม้ได้ลดอัตราแผลไหม้แบบหนักได้อย่างสำคัญ วิธีการป้องกันรวมทั้งจำกัดอุณหภูมิน้ำร้อน เครื่องตรวจควันไฟ ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง การสร้างอาคารที่ดี และเสื้อผ้ากันไฟ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ตั้งอุณหภูมิเครื่องทำน้ำร้อนให้ต่ำกว่า 48.8 องศาเซลเซียส วิธีอื่นเพื่อป้องกันน้ำลวกรวมการใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิน้ำอาบ อุปกรณ์กันกระเด็นที่ใช้กับภาชนะหุงต้ม แม้ผลของกฎหมายควบคุมดอกไม้ไฟจะไม่ชัดเจน แต่ก็มีหลักฐานในเบื้องต้นว่ามีประโยชน์ รวมทั้งการจำกัดขายให้เด็ก

การรักษา

การรักษาพยาบาลเริ่มตั้งแต่ประเมินและรักษาเสถียรภาพทางลมหายใจของบุคคล ของการหายใจ และของการเดินเลือด ถ้าสงสัยว่าสูดความร้อนเข้าไปด้วย การช่วยหายใจด้วยหลอดหายใจอาจจำเป็นตั้งแต่เนื่อง  แล้วจึงรักษาแผลไหม้ คนที่มีแผลใหญ่อาจต้องพันด้วยผ้าสะอาดจนกว่าจะมาถึง รพ. เพราะแผลไหม้เสี่ยงติดเชื้อ ก็จะให้วัคซีนบาดทะยักถ้าไม่ได้ฉีดสร้างภูมิคุ้มกันไว้ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ในสหรัฐ คนไข้แผลไหม้ร้อยละ 95 ที่มายังแผนกฉุกเฉินจะได้รักษาแล้วให้กลับบ้าน ที่เหลือต้องเข้ารักษาใน รพ. ถ้าแผลใหญ่ ต้องให้อาหารตั้งแต่เนื่อง  ควรได้โปรตีนเพิ่ม โดยสารอาหารรอง (trace element) และวิตามินก็มักจำเป็น ในสถานพยาบาลที่มี การให้ออกซิเจนด้วยหีบให้ออกซิเจนในแรงดันอากาศสูง (hyperbaric oxygenation) เพิ่มอาจมีประโยชน์

น้ำเกลือ

สำหรับผู้ที่เลือดไหลเวียนไม่ดี (poor tissue perfusion) ควรให้น้ำเกลือแบบ isotonic crystalloid solution (สารละลายคริสแทลลอยด์ซึ่งมีความดันออสโมซิสเสมอเลือด) ในเด็กที่มีผิวไหม้เป็นเนื้อที่ (ของ total body surface area หรือ TBSA) ร้อยละ 10-20 และผู้ใหญ่ที่มีมากกว่าร้อยละ 15 ควรให้น้ำเกลือและตามเฝ้าสังเกต ในผู้ที่มี TBSA ยิ่งกว่าร้อยละ 25 ควรทำเช่นนี้แม้ก่อนไปถึง รพ. ถ้าเป็นไปได้ สูตรพาร์กแลนด์ (Parkland formula) สามารถใช้ระบุปริมาตรน้ำเกลือที่ต้องให้ใน 24 ชม. แรก เป็นสูตรที่ผลลัพธ์แปรไปตามพื้นที่แผลไหม้เป็นอัตราของ TBSA และน้ำหนัก น้ำเกลือครึ่งหนึ่งจะให้ใน 8 ชม. แรก และที่เหลือใน 16 ชม. ต่อมา เวลาจะคำนวณเริ่มเมื่อถูกไหม้ ไม่ใช่เริ่มตั้งแต่ให้น้ำเกลือ เด็กต้องได้น้ำเกลือประเภทอื่น ๆ รวมทั้งกลูโคส อนึ่ง ผู้ที่บาดเจ็บทางเดินลมหายใจด้วยต้องได้น้ำเกลือมากกว่า แม้การให้ไม่พออาจเป็นปัญหา แต่การให้เกินก็มีผลลบด้วย สูตรเป็นเพียงแค่แนวปฏิบัติ ควรปรับให้ได้ปัสสาวะ >30 มล./ชม. ในผู้ใหญ่ หรือ >1 มล./กก. ในเด็ก โดยมีความดันเลือดแบบ mean arterial pressure (MAP) ยิ่งกว่า 60 mmHg แม้จะมักใช้น้ำเกลือแบบ lactated Ringer's solution แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าดีกว่าน้ำเกลือธรรมดา (normal saline) น้ำเกลือแบบคริสแทลลอยด์ดูเหมือนจะดีเท่า ๆ กับแบบคอลลอยด์ (colloid) แต่เพราะแบบหลังแพงกว่าจึงไม่แนะนำ การถ่ายเลือดจำเป็นในกรณีจำนวนน้อย ซึ่งแนะนำก็ต่อเมื่อระดับเฮโมโกลบินตกต่ำกว่า 60-80 ก./ล. (6-8 ก./ดล.) เพราะเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน เข็มให้น้ำเกลืออาจสอดผ่านผิวที่ไหม้ถ้าจำเป็น หรืออาจให้ผ่านไขกระดูก (intraosseous infusion)

การพยาบาลแผล

การแช่เย็นตั้งแต่เนื่อง ๆ (ภายใน 30 นาทีหลังเกิดเหตุ) ลดความลึกของแผลและความเจ็บ แต่ถ้าทำมากเกินไปก็อาจทำให้ตัวเย็นเกิน ควรทำด้วยน้ำเย็นอุณหภูมิระหว่าง 10-25 องศาเซลเซียส โดยไม่ใช้น้ำแข็งเพราะอาจทำให้แย่ลง แผลไหม้เหตุสารเคมีอาจต้องล้างให้มาก ๆ การทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำ, การเอาเนื้อตายออก และการปิดแผลเป็นเรื่องสำคัญ ถ้ามีตุ่มพองที่ยังไม่แตก ไม่ชัดเจนว่าควรทำอย่างไร มีหลักฐานในเบื้องต้นบ้างว่า ควรทิ้งไว้เฉย ๆ แผลไหม้ระดับสองควรตรวจอีกหลังจาก 2 วัน สำหรับแผลไหม้ระดับ 1 และ 2 การปิดแผลเช่นไรดีมีแต่หลักฐานคุณภาพไม่ดี การไม่ปิดแผลไหม้ระดับ 1 นั้นเหมาะสม

แม้มักจะแนะนำยาทาปฏิชีวนะ แต่ก็มีหลักฐานสนับสนุนน้อย ยาปฏิชีวนะซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน (silver sulfadiazine) ไม่แนะนำเพราะอาจทำให้หายช้า มีหลักฐานไม่เพียงพอสนับสนุนให้ใช้ผ้าปิดที่มีซิลเวอร์ หรือการปิดแผลแบบดูดอากาศลดความดัน (negative-pressure wound therapy) ซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีนดูไม่ต่างกับโฟมมีซิลเวอร์เพื่อช่วยให้แผลหาย

ยา

แผลไหม้อาจเจ็บมาก แต่ก็มีวิธีลดความเจ็บ เช่นใช้ยาระงับปวดธรรมดา ๆ เช่น ไอบิวพรอเฟนและพาราเซตามอล และใช้ยากลุ่มโอปิออยด์ เช่น มอร์ฟีน ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนอาจให้พร้อมกับยาระงับปวดเพื่อลดความวิตกกังวล เมื่อกำลังหาย อาจนวด ใช้สารต้านฮิสตามีน หรือการกระตุ้นประสาทผ่านผิว (transcutaneous electrical nerve stimulation) เพื่อแก้คัน แต่สารต้านฮิสตามีนก็ได้ผลเพื่อจุดประสงค์นี้เพียงในคนไข้ร้อยละ 20 มีหลักฐานเบื้องต้นสนับสนุนให้ใช้ยา gabapentin (ปกติใช้รักษาโรคลมชัก ความเจ็บปวดเหตุโรคเส้นประสาท อาการวัยทอง อาการขาอยู่ไม่เป็นสุข) คืออาจสมควรกับคนที่ไม่ดีขึ้นเมื่อใช้สารต้านฮิสตามีน ลิโดเคน (lidocaine) ที่ให้ทางเส้นเลือดต้องมีงานศึกษาเพิ่มขึ้นก่อนจะแนะนำให้ใช้แก้ปวด

การให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดแนะนำก่อนการผ่าตัดสำหรับคนไข้ที่ไหม้มาก (>60% TBSA) จนถึงปี 2008 แนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ไม่แนะนำให้ทำอย่างนี้โดยทั่วไปเพราะแบคทีเรียอาจดื้อยา และเพราะเสี่ยงติดเชื้อรา แต่หลักฐานเบื้องต้นก็แสดงว่า อาจเพิ่มอัตรารอดชีวิตสำหรับคนไข้ที่มีแผลไหม้ใหญ่และรุนแรง แต่ไซโตไคน์แบบไกลโคโปรตีนคือ อิริโทรพอยเอติน (Erythropoietin) ก็ไม่พบว่ามีผลป้องกันหรือรักษาภาวะเลือดจางในคนไข้แผลไหม้ ในกรณีที่มีเหตุจากกรดไฮโดรฟลูออริก แคลเซียมกลูโคเนต (calcium gluconate) เป็นยาแก้พิษโดยเฉพาะ และอาจให้ทางเส้นเลือดและ/หรือใช้ทา ฮอร์โมนการเติบโตของมนุษย์แบบลูกผสม (recombinant human growth hormone ตัวย่อ rhGH) ในกรณีที่ไหม้เกินร้อยละ 40 ปรากฏว่า ช่วยให้หายเร็วขึ้นแม้ไม่มีผลต่อความเสี่ยงตาย การใช้สเตอรอยด์รักษาไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน

การผ่าตัด

แผลที่ต้องปิดด้วยการปลูกถ่ายหนัง (skin graft) หรือแผ่นเนื้อเยื่อปะปลูก (flap) ควรทำให้เร็วที่สุด โดยปกติคือแผลซึ่งยิ่งกว่าแผลไหม้ระดับ 3 เล็ก ๆ แผลไหม้เป็นวงของแขนขาหรือหน้าอกอาจต้องผ่าตัดเอาหนังออกที่เรียกว่า escharotomy เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการเดินเลือดหรือการหายใจ ไม่ชัดเจนว่านี่มีประโยชน์สำหรับแผลที่คอหรือนิ้วหรือไม่ การผ่าตัดพังผืด (fasciotomy) อาจจำเป็นสำหรับแผลไหม้เหตุไฟฟ้า การปลูกถ่ายหนังอาจใช้สิ่งทดแทนหนังชั่วคราว ไม่ว่าจะได้จากสัตว์ (มนุษย์ผู้บริจาคหรือหมู) หรืออาจสังเคราะห์ โดยใช้ปิดแผล ป้องกันการติดเชื้อและการเสียน้ำ แต่ในที่สุดก็จะเอาออก หรือว่า หนังมนุษย์ที่ปลูกถ่ายอาจติดอย่างถาวรถ้าไม่มีปฏิกิริยาปฏิเสธสิ่งปลูกถ่าย

ไม่มีหลักฐานว่าการใช้คอปเปอร์ซัลเฟตเพื่อให้เห็นอนุภาคฟอสฟอรัสแล้วเอาออกจะช่วยให้แผลหายสำหรับแผลไหม้เหตุฟอสฟอรัส และการดูดซึมคอปเปอร์ซัลเฟตเข้าในเลือดก็มีผลร้าย

แพทย์ทางเลือก

น้ำผึ้งใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อช่วยรักษาแผลและอาจมีประโยชน์สำหรับแผลไหม้ระดับ 1 และ 2 มีหลักฐานพอควรว่ามันช่วยแผลที่ไม่ไหม้ตลอดหนัง หลักฐานสนับสนุนให้ใช้ว่านหางจระเข้มีคุณภาพไม่ดี แม้อาจช่วยลดความเจ็บ และงานทบทวนวรรณกรรมของกลุ่มแพทย์ไทยปี 2007 พบหลักฐานเบื้องต้นว่าช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น แต่งานทบทวนต่อ ๆ มาตั้งแต่ปี 2012 ก็ไม่พบว่าดีกว่าซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน มีงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเพียง 3 งานที่ใช้พืชรักษาแผลไหม้ คือมี 2 งานเกี่ยวกับว่านหางจระเข้ และงานหนึ่งเกี่ยวกับข้าวโอ๊ต

มีหลักฐานน้อยว่าวิตามินอีช่วยไม่ให้เป็นแผลเป็น ไม่แนะนำให้ใช้เนย ในประเทศมีรายได้น้อย แผลไหม้จะรักษาด้วยแพทย์แผนโบราณอาจถึง 1/3 ซึ่งรวมการทาไข่ โคลน ใบสมุนไพร หรือมูลโค การผ่าตัดจะจำกัดในบางกรณีเพราะจนหรือไม่มีหมอ มีวิธีอื่น ๆ นอกจากยาที่สามารถลดความเจ็บปวดและความวิตกกังวลรวมทั้งการบำบัดด้วยความเป็นจริงเสมือน (virtual reality therapy) การสะกดจิต และวิธีการทางพฤติกรรมต่าง ๆ รวมทั้งวิธีหลอกล่อใจ

พยากรณ์โรค

พยากรณ์โรคในสหรัฐ
TBSA อัตราตาย
0-9% 0.6%
10-19% 2.9%
20-29% 8.6%
30-39% 16%
40-49% 25%
50-59% 37%
60-69% 43%
70-79% 57%
80-89% 73%
90-100% 85%
หายใจเข้า 23%

พยากรณ์โรคแย่กว่าสำหรับผู้มีแผลใหญ่ คนมีอายุมากกว่า และหญิง การบาดเจ็บเพราะหายใจเอาควันเข้า, การบาดเจ็บสำคัญอื่น ๆ เช่น กระดูกยาวแตก/หัก และการมีสภาพหนักอย่างอื่นร่วม (เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคทางจิตเวช และการตั้งใจฆ่าตัวตาย) ก็มีผลต่อพยากรณ์โรคด้วย ในสหรัฐโดยเฉลี่ย ผู้ที่รับเข้าศูนย์แผลไหม้เฉพาะทางร้อยละ 4 เสียชีวิต โดยผลที่ได้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผล ยกตัวอย่างเช่น คนไข้ที่มีแผลไหม้น้อยกว่า 10% TBSA มีอัตราตายน้อยกว่า 1% และคนไข้ที่มีแผลไหม้ยิ่งกว่า 90% TBSA มีอัตราตาย 85% แต่ในอัฟกานิสถาน คนไข้ที่มีแผลไหม้เกิน 60% TBSA ไม่ค่อยรอด

ระบบ Baux score ได้ใช้เพื่อคำนวณพยากรณ์โรคสำหรับแผลไหม้แบบหนัก การคำนวณดั้งเดิมบวกขนาดแผลไหม้ (% TBSA) กับอายุคนไข้ แล้วใช้ผลลัพธ์เป็นอัตราความเสี่ยงตาย แต่เพราะการพยาบาลได้ดีขึ้น ปัจจุบันนี้จึงไม่ค่อยแม่น หนังสือแพทย์ปี 2016 ระบุว่า โดยขึ้นอยู่กับศูนย์แพทย์ คะแนนที่ระบุว่าคนไข้ไม่สามารถรอดชีวิตได้อยู่ที่ 160 และคะแนนที่ระบุว่าคนไข้อาจรอดชีวิตครึ่งหนึ่งอยู่ที่ 110 โดยจะบวกเพิ่มอีก 17 คะแนนถ้าคนไข้บาดเจ็บเนื่องจากสูดความร้อนเข้าไปด้วย

แผลไหม้ในปี 2013 ทำให้สูญเสียปีสุขภาวะ 12.3 ล้านปี และก่อปีที่บุคคลอยู่อย่างพิการ 1.2 ล้านปี

ภาวะแทรกซ้อน

อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง โดยการติดเชื้อสามัญที่สุด ตามลำดับโอกาสการเกิด ภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งปอดบวม เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (cellulitis) การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และการหายใจล้มเหลว ปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อรวมทั้ง แผลไหม้เกิน 30% TBSA แผลไหม้ตลอดหนัง (ระดับ 3) อายุน้อยมากหรือแก่มาก แผลไหม้ที่ขาหรือฝีเย็บ ปอดบวมเกิดบ่อยเป็นพิเศษสำหรับผู้สูดความร้อนเข้าไป ภาวะเลือดจางเหตุแผลไหม้ตลอดหนังที่กินพื้นที่ยิ่งกว่า 10% TBSA เป็นเรื่องสามัญ แผลไหม้เหตุไฟฟ้าอาจก่ออาการ compartment syndrome (เนื้อเยื่อมีเลือดเลี้ยงไม่พอเพราะแรงดันที่เพิ่มขึ้นในส่วนของร่างกาย) หรือ rhabdomyolysis (กล้ามเนื้อโครงร่างที่เสียหายเกิดสลายตัวอย่างรวดเร็ว) เพราะกล้ามเนื้อเสียหาย ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำที่ขาประเมินว่าเกิดกับคนไข้ร้อยละ 6-25 ระดับเมแทบอลิซึมที่สูงเป็นปี ๆ หลังแผลไหม้หนักอาจทำให้กระดูกหนาแน่นน้อยลงและเสียกล้ามเนื้อ อาจเป็นแผลเป็นหลังจากหาย โดยเฉพาะในเด็กผิวเข้ม หลังจากเกิดเหตุการณ์ เด็กอาจมีปัญหาทางจิตใจอย่างสำคัญและมีความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) แผลเป็นอาจก่อความคิดความรู้สึกกับร่างกายของตนที่ไม่ดี (disturbance in body image) ในประเทศกำลังพัฒนา แผลไหม้ขนาดสำคัญอาจมีผลให้ถูกแยกตัวออกทางสังคม, ยากจนอย่างรุนแรง และทิ้งลูก

วิทยาการระบาด

การสูญเสียปีสุขภาวะ (DALY) เนื่องกับไฟต่อประชากร 100,000 คนในปี 2004

ในปี 2015 ไฟและความร้อนทำให้บาดเจ็บ 67 ล้านครั้ง ซึ่งทำให้เข้า รพ. 2.9 ล้านครั้งและคนเสียชีวิต 238,000 ราย โดยลดลงจาก 300,000 คนในปี 1990 จึงจัดเป็นเหตุบาดเจ็บอันดับ 4 รองจากอุบัติเหตุยานยนต์ การตก และความรุนแรง แผลไหม้ร้อยละ 90 เกิดในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งให้เหตุผลว่าเป็นเพราะอยู่กันอย่างแออัดและหุงต้มอย่างไม่ปลอดภัย โดยรวม แผลไหม้ถึงตายเกือบร้อยละ 60 เกิดในเอเชียอาคเนย์โดยมีอัตรา 11.6 คนต่อประชากร 100,000 คน จำนวนคนไข้แผลไหม้ถึงตายได้ลดลงจาก 280,000 คนในปี 1990 เหลือ 176,000 คนในปี 2015 ในประเทศพัฒนาแล้ว ชายผู้ใหญ่มีอัตราตายเหตุแผลไหม้เป็นทวีคูณของหญิง โดยน่าจะเป็นเพราะมีอาชีพและกิจกรรมที่เสี่ยงกว่า แต่ในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ หญิงเสี่ยงเป็นทวีคูณเทียบกับชาย โดยมักเกี่ยวกับอุบัติเหตุในครัวหรือความรุนแรงในครอบครัว ในเด็กประเทศกำลังพัฒนา ความตายเหตุแผลไหม้เกิดในอัตราเป็นสิบ ๆ เท่าของประเทศพัฒนาแล้ว รวม ๆ แล้วสำหรับเด็ก มันเป็นเหตุการเสียชีวิตหนึ่งในท๊อป 15 ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 จนถึงปี 2004 อัตราแผลไหม้จนเสียชีวิตและอัตราการเกิดแผลไหม้ทั่วไปได้ลดลงในประเทศหลาย ๆ ประเทศ

ประเทศพัฒนาแล้ว

การบาดเจ็บเหตุแผลไหม้ประมาณ 500,000 รายได้รับการรักษาต่อปีในสหรัฐ ทำให้เสียชีวิตราว ๆ 3,300 รายในปี 2008 การบาดเจ็บ (ร้อยละ 70) และการเสียชีวิตเหตุแผลไหม้โดยมากเกิดกับผู้ชาย แผลไหม้เพราะไฟเกิดมากที่สุดในคนอายุระหว่าง 18-35 ปี เทียบกับการถูกลวกที่เกิดมากสุดในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบและคนชราอายุเกิน 65 ปี แผลไหม้เหตุไฟฟ้าทำให้คนเสียชีวิต 1,000 รายต่อปี ฟ้าผ่าทำให้คนเสียชีวิต 60 รายต่อปี ในยุโรป แผลไหม้แบบตั้งใจเกิดกับชายวัยกลางคนบ่อยสุด

ประเทศกำลังพัฒนา

ในอินเดีย คนประมาณ 7-8 แสนคนต่อปีได้แผลไหม้ที่สำคัญ แต่น้อยคนมากที่จะได้ดูแลในศูนย์รักษาแผลไหม้ อัตราสูงสุดเกิดในหญิงอายุระหว่าง 16-35 ปี เหตุส่วหนึ่งก็เพราะครัวไม่ปลอดภัยและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่หลวม ๆ ตามปกติของคนอินเดีย ประเมินว่า กรณี 1/3 เกิดจากเสื้อผ้าติดไฟจากไฟที่เปิดโล่ง แผลไหม้ที่จงใจเป็นเรื่องสามัญและเกิดในอัตราสูงในหญิงอายุน้อย โดยเกิดจากความรุนแรงในครอบครัวและการทำร้ายตัวเอง

ประวัติ

แพทย์ชาวฝรั่งเศสกีโยม ดิวพวีแตรน (Guillaume Dupuytren) ผู้พัฒนาการจัดหมวดหมู่ระดับแผลไหม้ขึ้น

ภาพวาดถ้ำจาก 3,500 ปีกว่าได้บันทึกเรื่องแผลไหม้และวิธีรักษา บันทึกการรักษาแผลไหม้อียิปต์ที่เก่าแก่สุดกล่าวถึงผ้าปิดแผลที่ใช้กับนมของมารดาที่มีทารกชาย และพาไพรัสของเอดวินสมิทเมื่อ 1,500 ปีก่อน ค.ศ. กล่าวถึงการรักษาด้วยน้ำผึ้งและยาทาที่ทำจากพืช มีวิธีการรักษาอื่น ๆ ที่ใช้ในประวัติศาสตร์ รวมทั้งใบชาที่พบในบันทึกจีน 600 ปีก่อน ค.ศ., ไขมันหมูและน้ำส้มสายชูโดยฮิปพอคราทีสเมื่อ 400 ปีก่อน ค.ศ. และไวน์กับยางไม้หอม (myrrh) โดยนักสารานุกรมชาวโรมัน Aulus Cornelius Celsus ที่บันทึกไว้เมื่อ 100 ปีก่อน ค.ศ. ช่างตัดผม-นักผ่าตัด ชาวฝรั่งเศส Ambroise Paré เป็นผู้กล่าวถึงแผลไหม้ระดับต่าง ๆ เป็นคนแรกในคริสต์ทศวรรษ 1500 ส่วนแพทย์ชาวฝรั่งเศสกีโยม ดิวพวีแตรน (Guillaume Dupuytren) ได้ขยายระดับเช่นนี้เป็นถึง 6 ระดับในปี 1832

รพ. รักษาแผลไหม้แห่งแรกได้เปิดในกรุงลอนดอนปี 1843 และการพัฒนาวิธีการรักษาแผลไหม้ตามที่พบในปัจจุบันก็เริ่มเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นักเคมีชาวอังกฤษ Henry Drysdale Dakin และศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศส Alexis Carrel ได้พัฒนามาตรฐานการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อแผลกับแผลไหม้โดยใช้สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ซึ่งลดอัตราตายอย่างสำคัญ ในคริสต์ทศวรรษ 1940 ความสำคัญในการตัดหนัง/อวัยวะออกและการปลูกถ่ายหนังก็รู้แล้ว ในเวลาเดียวกัน การให้น้ำเกลือและสูตรการให้ก็ได้พัฒนาขึ้น ในคริสต์ทศวรรษ 1970 นักวิจัยได้แสดงความสำคัญของภาวะมีเมแทบอลิซึมเกินที่ติดตามแผลไหม้ขนาดใหญ่

เชิงอรรถ

  1.  
    • m คือ น้ำหนักเป็นกิโลกรัม
    • A คือ มีแผลไหม้เป็นอัตราร้อยละของ TBSA
    • ตัวอย่างคนไข้หนัก 75 กก. มีแผลไหม้ครอบคลุมร้อยละ 20 ของพื้นที่ผิวร่างกายทั้งหมด ควรให้น้ำเกลือ 4 x 75 x 20 เท่ากับ 6,000 มล. ใน 24 ชม. แรก
  2. barber-surgeon

อ้างอิง

  1. "Burns - British Association of Plastic Reconstructive and Aesthetic Surgeons". BAPRAS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-10.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 2.18 2.19 2.20 2.21 2.22 2.23 2.24 2.25 2.26 2.27 2.28 2.29 2.30 2.31 2.32 2.33 2.34 2.35 2.36 2.37 2.38 2.39 2.40 2.41 2.42 2.43 2.44 2.45 2.46 2.47 2.48 2.49 2.50 2.51 2.52 2.53 2.54 2.55 2.56 2.57 2.58 2.59 2.60 2.61 2.62 2.63 2.64 2.65 2.66 2.67 Tintinalli, Judith E. (2010). Emergency Medicine: A Comprehensive Study Guide (Emergency Medicine (Tintinalli)). New York: McGraw-Hill Companies. pp. 1374–1386. ISBN 978-0-07-148480-0.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 Herndon, D, บ.ก. (2012). "Chapter 3: Epidemiological, Demographic, and Outcome Characteristics of Burn Injury". Total burn care (4th ed.). Edinburgh: Saunders. p. 23. ISBN 978-1-4377-2786-9.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 4.8 Herndon, D, บ.ก. (2012). "Chapter 4: Prevention of Burn Injuries". Total burn care (4th ed.). Edinburgh: Saunders. p. 46. ISBN 978-1-4377-2786-9.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 "Burns". World Health Organization. September 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-21. สืบค้นเมื่อ 2017-08-01.
  6. 6.0 6.1 6.2 Vos, Theo; Allen, Christine; Arora, Megha; Barber, Ryan M.; Bhutta, Zulfiqar A.; Brown, Alexandria; Carter, Austin; Casey, Daniel C.; Charlson, Fiona J.; Chen, Alan Z.; Coggeshall, Megan; Cornaby, Leslie; Dandona, Lalit; Dicker, Daniel J.; Dilegge, Tina; Erskine, Holly E.; Ferrari, Alize J.; Fitzmaurice, Christina; Fleming, Tom; Forouzanfar, Mohammad H.; Fullman, Nancy; Gething, Peter W.; Goldberg, Ellen M.; Graetz, Nicholas; Haagsma, Juanita A.; Hay, Simon I.; Johnson, Catherine O.; Kassebaum, Nicholas J.; Kawashima, Toana; และคณะ (October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
  7. 7.0 7.1 7.2 Wang, Haidong; Naghavi, Mohsen; Allen, Christine; Barber, Ryan M.; Bhutta, Zulfiqar A.; Carter, Austin; Casey, Daniel C.; Charlson, Fiona J.; Chen, Alan Zian; Coates, Matthew M.; Coggeshall, Megan; Dandona, Lalit; Dicker, Daniel J.; Erskine, Holly E.; Ferrari, Alize J.; Fitzmaurice, Christina; Foreman, Kyle; Forouzanfar, Mohammad H.; Fraser, Maya S.; Fullman, Nancy; Gething, Peter W.; Goldberg, Ellen M.; Graetz, Nicholas; Haagsma, Juanita A.; Hay, Simon I.; Huynh, Chantal; Johnson, Catherine O.; Kassebaum, Nicholas J.; Kinfu, Yohannes; และคณะ (October 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/S0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281.
  8. 8.0 8.1 "Burns Fact sheet N°365". WHO. April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-10. สืบค้นเมื่อ 2016-03-03.
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 9.11 9.12 9.13 9.14 9.15 9.16 Granger, Joyce (Jan 2009). "An Evidence-Based Approach to Pediatric Burns". Pediatric Emergency Medicine Practice. 6 (1). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-17.
  10. Ferri, Fred F. (2012). Ferri's netter patient advisor (2nd ed.). Philadelphia, PA: Saunders. p. 235. ISBN 9781455728268. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-21.
  11. 11.0 11.1 11.2 Haagsma, JA; Graetz, N; Bolliger, I; Naghavi, M; Higashi, H; Mullany, EC; และคณะ (February 2016). "The global burden of injury: incidence, mortality, disability-adjusted life years and time trends from the Global Burden of Disease study 2013". Injury Prevention. 22 (1): 3–18. doi:10.1136/injuryprev-2015-041616. PMC 4752630. PMID 26635210.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 12.7 12.8 Herndon, D, บ.ก. (2012). "Chapter 1: A Brief History of Acute Burn Care Management". Total burn care (4th ed.). Edinburgh: Saunders. p. 1. ISBN 978-1-4377-2786-9.[ลิงก์เสีย]
  13. 13.0 13.1 13.2 "Burn Incidence and Treatment in the United States: 2012 Fact Sheet". American Burn Association. 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-21. สืบค้นเมื่อ 2013-04-20.
  14. 14.00 14.01 14.02 14.03 14.04 14.05 14.06 14.07 14.08 14.09 Herndon, D, บ.ก. (2012). "Chapter 10: Evaluation of the burn wound: management decisions". Total burn care (4th ed.). Edinburgh: Saunders. p. 127. ISBN 978-1-4377-2786-9.
  15. 15.00 15.01 15.02 15.03 15.04 15.05 15.06 15.07 15.08 15.09 15.10 15.11 15.12 15.13 15.14 15.15 15.16 15.17 15.18 Brunicardi, Charles (2010). "Chapter 8: Burns". Schwartz's principles of surgery (9th ed.). New York: McGraw-Hill, Medical Pub. Division. ISBN 978-0-07-154769-7.
  16. 16.0 16.1 16.2 Goutos, I; Dziewulski, P; Richardson, PM (Mar–Apr 2009). "Pruritus in burns: review article". Journal of Burn Care & Research. 30 (2): 221–8. doi:10.1097/BCR.0b013e318198a2fa. PMID 19165110. S2CID 3679902.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 17.6 Marx, John (2010). "Chapter 140: Electrical and Lightning Injuries". Rosen's emergency medicine : concepts and clinical practice (7th ed.). Philadelphia: Mosby/Elsevier. ISBN 978-0-323-05472-0.
  18. 18.00 18.01 18.02 18.03 18.04 18.05 18.06 18.07 18.08 18.09 18.10 18.11 18.12 18.13 Peck, MD (November 2011). "Epidemiology of burns throughout the world. Part I: Distribution and risk factors". Burns. 37 (7): 1087–100. doi:10.1016/j.burns.2011.06.005. PMID 21802856.
  19. 19.0 19.1 Lloyd, EC; Rodgers, BC; Michener, M; Williams, MS (January 2012). "Outpatient burns: prevention and care". American Family Physician. 85 (1): 25–32. PMID 22230304.
  20. Buttaro, Terry (2012). Primary Care: A Collaborative Practice. Elsevier Health Sciences. p. 236. ISBN 978-0-323-07585-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-13.
  21. Rosdahl, Caroline Bunker; Kowalski, Mary T (2008). Textbook of basic nursing (9th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. p. 1109. ISBN 978-0-7817-6521-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-12.
  22. National Burn Repository Pg. i
  23. 23.0 23.1 23.2 Forjuoh, SN (August 2006). "Burns in low- and middle-income countries: a review of available literature on descriptive epidemiology, risk factors, treatment, and prevention". Burns. 32 (5): 529–37. doi:10.1016/j.burns.2006.04.002. PMID 16777340.
  24. "Death rate from fires and burns, 2017". Our World in Data. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-27. สืบค้นเมื่อ 2019-11-17.
  25. Eisen, Sarah; Murphy, Catherine (2009). Murphy, Catherine; Gardiner, Mark; Eisen, Sarah (บ.ก.). Training in paediatrics : the essential curriculum. Oxford: Oxford University Press. p. 36. ISBN 978-0-19-922773-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-25.
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 Maguire, S; Moynihan, S; Mann, M; Potokar, T; Kemp, AM (December 2008). "A systematic review of the features that indicate intentional scalds in children". Burns. 34 (8): 1072–81. doi:10.1016/j.burns.2008.02.011. PMID 18538478.
  27. Peden, Margie (2008). World report on child injury prevention. Geneva, Switzerland: World Health Organization. p. 86. ISBN 978-92-4-156357-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-24.
  28. World Health Organization. "World report on child injury prevention" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ May 2008.
  29. 29.0 29.1 Hardwicke, J; Hunter, T; Staruch, R; Moiemen, N (May 2012). "Chemical burns--an historical comparison and review of the literature". Burns. 38 (3): 383–7. doi:10.1016/j.burns.2011.09.014. PMID 22037150.
  30. 30.0 30.1 Makarovsky, I; Markel, G; Dushnitsky, T; Eisenkraft, A (May 2008). "Hydrogen fluoride--the protoplasmic poison". The Israel Medical Association Journal. 10 (5): 381–5. PMID 18605366.
  31. Edlich, RF; Farinholt, HM; Winters, KL; Britt, LD; Long, WB (2005). "Modern concepts of treatment and prevention of lightning injuries". Journal of Long-Term Effects of Medical Implants. 15 (2): 185–96. doi:10.1615/jlongtermeffmedimplants.v15.i2.60. PMID 15777170.
  32. Prahlow, Joseph (2010). Forensic pathology for police, death investigators, and forensic scientists. Totowa, N.J.: Humana. p. 485. ISBN 978-1-59745-404-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-20.
  33. Kearns, RD; Cairns, CB; Holmes, JH; Rich, PB; Cairns, BA (January 2013). "Thermal burn care: a review of best practices. What should prehospital providers do for these patients?". EMS World. 42 (1): 43–51. PMID 23393776.
  34. Balk, SJ (March 2011). "Ultraviolet radiation: a hazard to children and adolescents". Pediatrics. 127 (3): e791-817. doi:10.1542/peds.2010-3502. PMID 21357345.
  35. 35.0 35.1 35.2 Marx, John (2010). "Chapter 144: Radiation Injuries". Rosen's emergency medicine : concepts and clinical practice (7th ed.). Philadelphia: Mosby/Elsevier. ISBN 978-0-323-05472-0.
  36. 36.0 36.1 Krieger, John (2001). Clinical environmental health and toxic exposures (2nd ed.). Philadelphia, Pa. : Lippincott Williams & Wilkins. p. 205. ISBN 978-0-683-08027-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-05.
  37. 37.0 37.1 37.2 37.3 Peck, MD (August 2012). "Epidemiology of burns throughout the World. Part II: intentional burns in adults". Burns. 38 (5): 630–7. doi:10.1016/j.burns.2011.12.028. PMID 22325849.
  38. 38.0 38.1 Gondim, RM; Muñoz, DR; Petri, V (June 2011). "Child abuse: skin markers and differential diagnosis". Anais Brasileiros de Dermatologia. 86 (3): 527–36. doi:10.1590/S0365-05962011000300015. PMID 21738970.
  39. 39.0 39.1 Herndon, D, บ.ก. (2012). "Chapter 61: Intential burn injuries". Total burn care (4th ed.). Edinburgh: Saunders. pp. 689–698. ISBN 978-1-4377-2786-9.
  40. Jutla, RK; Heimbach, D (Mar–Apr 2004). "Love burns: An essay about bride burning in India". The Journal of Burn Care & Rehabilitation. 25 (2): 165–70. doi:10.1097/01.bcr.0000111929.70876.1f. PMID 15091143.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  41. Peden, Margie (2008). World report on child injury prevention. Geneva, Switzerland: World Health Organization. p. 82. ISBN 978-92-4-156357-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-17.
  42. 42.0 42.1 42.2 42.3 42.4 42.5 42.6 42.7 Marx, John (2010). "Chapter 60: Thermal Burns". Rosen's emergency medicine : concepts and clinical practice (7th ed.). Philadelphia: Mosby/Elsevier. ISBN 978-0-323-05472-0.
  43. 43.0 43.1 43.2 43.3 43.4 Rojas, Y; Finnerty, CC; Radhakrishnan, RS; Herndon, DN (December 2012). "Burns: an update on current pharmacotherapy". Expert Opinion on Pharmacotherapy. 13 (17): 2485–94. doi:10.1517/14656566.2012.738195. PMC 3576016. PMID 23121414.
  44. Hannon, Ruth (2010). Porth pathophysiology : concepts of altered health states (1st Canadian ed.). Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 1516. ISBN 978-1-60547-781-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-01.
  45. 45.0 45.1 45.2 45.3 Mahadevan, SV; Garmel, GM, บ.ก. (2012). An introduction to clinical emergency medicine (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press. pp. 216–219. ISBN 978-0-521-74776-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-20.
  46. "ABC of burns: Initial management of a major burn: II—assessment and resuscitation". July 2004. doi:10.1136/bmj.329.7457.101. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  47. Jeschke, Marc (2012). Handbook of Burns Volume 1: Acute Burn Care. Springer. p. 46. ISBN 978-3-7091-0348-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-17.
  48. Klingensmith, M, บ.ก. (2007). The Washington manual of surgery (5th ed.). Philadelphia, Pa.: Lippincott Williams & Wilkins. p. 422. ISBN 978-0-7817-7447-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-20.
  49. Rousseau, AF; Losser, MR; Ichai, C; Berger, MM (August 2013). "ESPEN endorsed recommendations: nutritional therapy in major burns". Clinical Nutrition (ภาษาอังกฤษ). 32 (4): 497–502. doi:10.1016/j.clnu.2013.02.012. PMID 23582468.
  50. Cianci, P; Slade, JB; Sato, RM; Faulkner, J (Jan–Feb 2013). "Adjunctive hyperbaric oxygen therapy in the treatment of thermal burns". Undersea & Hyperbaric Medicine. 40 (1): 89–108. PMID 23397872.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  51. 51.0 51.1 Enoch, S; Roshan, A; Shah, M (April 2009). "Emergency and early management of burns and scalds". BMJ. 338: b1037. doi:10.1136/bmj.b1037. PMID 19357185. S2CID 40561988.
  52. Hettiaratchy, S; Papini, R (July 2004). "Initial management of a major burn: II--assessment and resuscitation". BMJ. 329 (7457): 101–3. doi:10.1136/bmj.329.7457.101. PMC 449823. PMID 15242917.
  53. Jeschke, Marc (2012). Handbook of Burns Volume 1: Acute Burn Care. Springer. p. 77. ISBN 978-3-7091-0348-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-19.
  54. Endorf, FW; Ahrenholz, D (December 2011). "Burn management". Current Opinion in Critical Care. 17 (6): 601–5. doi:10.1097/MCC.0b013e32834c563f. PMID 21986459. S2CID 5525939.
  55. Lewis, SR; Pritchard, MW; Evans, DJ; Butler, AR; Alderson, P; Smith, AF; Roberts, I (August 2018). "Colloids versus crystalloids for fluid resuscitation in critically ill people". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 8: CD000567. doi:10.1002/14651858.CD000567.pub7. PMC 6513027. PMID 30073665.
  56. Eljaiek, R; Heylbroeck, C; Dubois, MJ (February 2017). "Albumin administration for fluid resuscitation in burn patients: A systematic review and meta-analysis". Burns. 43 (1): 17–24. doi:10.1016/j.burns.2016.08.001. PMID 27613476.
  57. Curinga, G; Jain, A; Feldman, M; Prosciak, M; Phillips, B; Milner, S (August 2011). "Red blood cell transfusion following burn". Burns. 37 (5): 742–52. doi:10.1016/j.burns.2011.01.016. PMID 21367529.
  58. 58.0 58.1 Wasiak, J; Cleland, H; Campbell, F; Spinks, A (March 2013). "Dressings for superficial and partial thickness burns". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 3 (3): CD002106. doi:10.1002/14651858.CD002106.pub4. hdl:10072/58266. PMC 7065523. PMID 23543513.
  59. 59.0 59.1 59.2 Avni, T; Levcovich, A; Ad-El, DD; Leibovici, L; Paul, M (February 2010). "Prophylactic antibiotics for burns patients: systematic review and meta-analysis". BMJ. 340: c241. doi:10.1136/bmj.c241. PMC 2822136. PMID 20156911.
  60. Hoogewerf, Cornelis J.; Van Baar, Margriet E.; Hop, M. Jenda; Nieuwenhuis, Marianne K.; Oen, Irma M. M. H.; Middelkoop, Esther (2013-01-31). "Topical treatment for facial burns". The Cochrane Database of Systematic Reviews (1): CD008058. doi:10.1002/14651858.CD008058.pub2. ISSN 1469-493X. PMID 23440823.
  61. Barajas-Nava, Leticia A.; López-Alcalde, Jesús; Roqué i Figuls, Marta; Solà, Ivan; Bonfill Cosp, Xavier (2013-06-06). "Antibiotic prophylaxis for preventing burn wound infection". The Cochrane Database of Systematic Reviews (6): CD008738. doi:10.1002/14651858.CD008738.pub2. ISSN 1469-493X. PMID 23740764.
  62. Storm-Versloot, MN; Vos, CG; Ubbink, DT; Vermeulen, H (March 2010). Storm-Versloot, Marja N (บ.ก.). "Topical silver for preventing wound infection". The Cochrane Database of Systematic Reviews (3): CD006478. doi:10.1002/14651858.CD006478.pub2. PMID 20238345.
  63. Dumville, JC; Munson, C; Christie, J (December 2014). "Negative pressure wound therapy for partial-thickness burns". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 12 (12): CD006215. doi:10.1002/14651858.CD006215.pub4. PMC 7389115. PMID 25500895.
  64. Chaganti, P; Gordon, I; Chao, JH; Zehtabchi, S (June 2019). "A systematic review of foam dressings for partial thickness burns". The American Journal of Emergency Medicine. 37 (6): 1184–1190. doi:10.1016/j.ajem.2019.04.014. PMID 31000315.
  65. Zachariah, JR; Rao, AL; Prabha, R; Gupta, AK; Paul, MK; Lamba, S (August 2012). "Post burn pruritus--a review of current treatment options". Burns. 38 (5): 621–9. doi:10.1016/j.burns.2011.12.003. PMID 22244605.
  66. 66.0 66.1 Herndon, D, บ.ก. (2012). "Chapter 64: Management of pain and other discomforts in burned patients". Total burn care (4th ed.). Edinburgh: Saunders. p. 726. ISBN 978-1-4377-2786-9.
  67. Wasiak, J; Mahar, PD; McGuinness, SK; Spinks, A; Danilla, S; Cleland, H; Tan, HB (October 2014). "Intravenous lidocaine for the treatment of background or procedural burn pain". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 10 (10): CD005622. doi:10.1002/14651858.CD005622.pub4. PMC 6508369. PMID 25321859.
  68. Herndon, D, บ.ก. (2012). "Chapter 31: Etiology and prevention of multisystem organ failure". Total burn care (4th ed.). Edinburgh: Saunders. p. 664. ISBN 978-1-4377-2786-9.
  69. Breederveld, RS; Tuinebreijer, WE (September 2014). "Recombinant human growth hormone for treating burns and donor sites". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 9 (9): CD008990. doi:10.1002/14651858.CD008990.pub3. PMC 7119450. PMID 25222766.
  70. Snell, JA; Loh, NH; Mahambrey, T; Shokrollahi, K (October 2013). "Clinical review: the critical care management of the burn patient". Critical Care. 17 (5): 241. doi:10.1186/cc12706. PMC 4057496. PMID 24093225.
  71. Jeschke, Marc (2012). Handbook of Burns Volume 1: Acute Burn Care. Springer. p. 266. ISBN 978-3-7091-0348-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-10.
  72. 72.0 72.1 72.2 72.3 Orgill, DP; Piccolo, N (Sep–Oct 2009). "Escharotomy and decompressive therapies in burns". Journal of Burn Care & Research. 30 (5): 759–68. doi:10.1097/BCR.0b013e3181b47cd3. PMID 19692906.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  73. "General data about burns". Burn Centre Care. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-27.
  74. Barqouni, Loai; Abu Shaaban, Nafiz; Elessi, Khamis (2014-06-04). Cochrane Wounds Group (บ.ก.). "Interventions for treating phosphorus burns". Cochrane Database of Systematic Reviews (ภาษาอังกฤษ) (6): CD008805. doi:10.1002/14651858.CD008805.pub3. PMC 7173745. PMID 24896368.
  75. Wijesinghe, M; Weatherall, M; Perrin, K; Beasley, R (May 2009). "Honey in the treatment of burns: a systematic review and meta-analysis of its efficacy". The New Zealand Medical Journal. 122 (1295): 47–60. PMID 19648986.
  76. Norman, G; Christie, J; Liu, Z; Westby, MJ; Jefferies, JM; Hudson, T; และคณะ (July 2017). "Antiseptics for burns". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 7: CD011821. doi:10.1002/14651858.cd011821.pub2. PMC 6483239. PMID 28700086.
  77. Jull, AB; Cullum, N; Dumville, JC; Westby, MJ; Deshpande, S; Walker, N (March 2015). "Honey as a topical treatment for wounds". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 3 (3): CD005083. doi:10.1002/14651858.CD005083.pub4. PMID 25742878.
  78. 78.0 78.1 Dat, AD; Poon, F; Pham, KB; Doust, J (February 2012). "Aloe vera for treating acute and chronic wounds". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2 (2): CD008762. doi:10.1002/14651858.CD008762.pub2. PMID 22336851.[ลิงก์เสีย]
  79. Maenthaisong, R; Chaiyakunapruk, N; Niruntraporn, S; Kongkaew, C (September 2007). "The efficacy of aloe vera used for burn wound healing: a systematic review". Burns. 33 (6): 713–8. doi:10.1016/j.burns.2006.10.384. PMID 17499928.
  80. Bahramsoltani, R; Farzaei, MH; Rahimi, R (September 2014). "Medicinal plants and their natural components as future drugs for the treatment of burn wounds: an integrative review". Archives of Dermatological Research. 306 (7): 601–17. doi:10.1007/s00403-014-1474-6. PMID 24895176. S2CID 23859340.
  81. 81.0 81.1 Juckett, G; Hartman-Adams, H (August 2009). "Management of keloids and hypertrophic scars". American Family Physician. 80 (3): 253–60. PMID 19621835.
  82. Turkington, Carol; Dover, Jeffrey S; Cox, Birck (2007). The encyclopedia of skin and skin disorders (3rd ed.). New York, NY: Facts on File. p. 64. ISBN 978-0-8160-7509-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-18.
  83. 83.0 83.1 National Burn Repository, Pg. 10
  84. Fleisman, Ross J; Ma, O John (2016). "Chapter 255: Trauma in the Elderly". ใน Tintinalli, Judith E.; Stapczynski, J. Stephan; Ma, O. John; Yealy, Donald M.; Meckler, Garth D.; Cline, David M. (บ.ก.). Tintinalli’s Emergency Medicine: A Comprehensive Study Guide (8th ed.). New York, NY: McGraw-Hill Education. p. 1689. ISBN 978-0071794763.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  85. King, Christopher; Henretig, Fred M.; King, Brent R.; Loiselle, John; Ruddy, Richard M.; Wiley II, James F., บ.ก. (2008). Textbook of pediatric emergency procedures (2nd ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 1077. ISBN 978-0-7817-5386-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-22.
  86. 86.0 86.1 Roberts, Michael C. (2009). Handbook of pediatric psychology (4th ed.). New York: Guilford. p. 421. ISBN 978-1-60918-175-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-30.
  87. "WHO Disease and injury country estimates". World Health Organization. 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-11. สืบค้นเมื่อ 2009-11-11.
  88. GBD 2013 Mortality Causes of Death Collaborators (January 2015). "Global, regional, and national age-sex specific all-cause and cause-specific mortality for 240 causes of death, 1990-2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. 385 (9963): 117–71. doi:10.1016/s0140-6736(14)61682-2. PMC 4340604. PMID 25530442. {{cite journal}}: |author1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  89. Lozano, R; Naghavi, M; Foreman, K; Lim, S; Shibuya, K; Aboyans, V; และคณะ (December 2012). "Global and regional mortality from 235 causes of death for 20 age groups in 1990 and 2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010". Lancet. 380 (9859): 2095–128. doi:10.1016/S0140-6736(12)61728-0. hdl:10536/DRO/DU:30050819. PMID 23245604. S2CID 1541253.
  90. Edlich, RF; Farinholt, HM; Winters, KL; Britt, LD; Long, WB (2005). "Modern concepts of treatment and prevention of electrical burns". Journal of Long-Term Effects of Medical Implants. 15 (5): 511–32. doi:10.1615/jlongtermeffmedimplants.v15.i5.50. PMID 16218900.
  91. 91.0 91.1 91.2 Ahuja, RB; Bhattacharya, S (August 2004). "Burns in the developing world and burn disasters". BMJ. 329 (7463): 447–9. doi:10.1136/bmj.329.7463.447. PMC 514214. PMID 15321905.
  92. Gupta (2003). Textbook of Surgery. Jaypee Brothers Publishers. p. 42. ISBN 978-81-7179-965-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-27.
  93. Pećanac, M; Janjić, Z; Komarcević, A; Pajić, M; Dobanovacki, D; Misković, SS (2013). "Burns treatment in ancient times". Medicinski Pregled. 66 (5–6): 263–7. doi:10.1016/s0264-410x(02)00603-5. PMID 23888738.
  94. 94.0 94.1 Song, David (2012-09-05). Plastic surgery (3rd ed.). Edinburgh: Saunders. p. 393.e1. ISBN 978-1-4557-1055-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-02.
  95. Wylock, Paul (2010). The life and times of Guillaume Dupuytren, 1777-1835. Brussels: Brussels University Press. p. 60. ISBN 978-90-5487-572-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-16.

อ้างอิงอื่น ๆ

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก